วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

ดอกไม้ประเทศอาเซียน 10 ชาติ

 

 ดอกไม้ประเทศอาเซียน 10 ชาติ 


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

1. บรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) : ดอกซิมปอร์

          ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) : ดอกลำดวน

          ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา เป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วยนะ



10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) : ดอกกล้วยไม้ราตรี

          ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย



10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) : ดอกจำปาลาว

          ดอกไม้ประจำชาติลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย



10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) : ดอกพู่ระหง

          ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย เป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย



10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) : ดอกพุดแก้ว

          ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วย เช่นกัน



10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

7. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า

          ดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ คือ ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524)



10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

8. ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์

          ดอกไม้ประจำชาติไทย คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น



10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) : ดอกบัว

          ดอกไม้ประจำชาติเวียดนาม เป็นดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม "ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ" เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อย ครั้ง




10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

10. สหภาพพม่า (Union of Myanmar) : ดอกประดู่

          ดอกไม้ประจำชาติพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

วันอาเซียน เพลงประจำอาเซียน และกฎบัตรอาเซียน


วันอาเซียน 

              ให้วันที่  8  สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน

เพลงประจำอาเซียน  คือ  เพลง  ASEAN  WAY

กฎบัตรอาเซียน 

              กฎบัตรอาเซียน  กำหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
              1.  เคารพเอกราช  อธิปไตย  ความเสมอภาค  บูรณภาพแห่งดินแดน  และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
              2.  ผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ  ความมั่นคง  และความมั่งคั่งของภูมิภาค
              3.  ไม่รุกรานหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
              4.  ระงับข้อพิพาทโดยสันติ
              5.  ไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
              6.  เคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง  การบ่อนทำลาย  และการบังคับจากภายนอก
              7.  ปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
              8.  ยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม  ธรรมาภิบาล  หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
              9.  เคารพเสรีภาพพื้นฐาน  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
              10.  ยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ    รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  ที่  รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
              11.  ละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการคุกคามอธิปไตย  บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
              12. เคารพในวัฒนธรรม  ภาษา  และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน
              13.  มีส่วนร่วมกับอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกทั้งในด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม  โดยไม่ปิดกั้นและไม่เลือกปฏิบัติ
              14. ยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียน

จุดประสงค์หลัก ภาษา คำขวัญ และอัตลักษณ์ของอาเซียน



ประชาคมอาเซียน คือ 

              ประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community)  คือ  การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง  สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย  ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง  เศรษฐกิจ  และภัยคุกคามรูปแบบใหม่  โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น  และสมาชิก  ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

จุดประสงค์หลักของอาเซียน

              ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
              1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
              2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
              3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
              4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
              5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
              7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  และองค์การระหว่างประเทศ


ภาษาอาเซียน 

              ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก  คือ  ภาษาอังกฤษ

คำขวัญของอาเซียน

                                               "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
                                                     (One Vision, One Identity, One Community)


อัตลักษณ์อาเซียน

             อาเซียนจะต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นเจ้าของในหมู่ประชาชนของตน  เพื่อให้บรรลุชะตา  เป้าหมาย  และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน

“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558




“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558           


        ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม   รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ    อาทิ    โรคระบาด    การก่อการร้าย   ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ  “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2”  (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่
              -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
              -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
              -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา
              ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558


asean258

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

สกุลเงินอาเซียนและอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน


สกุลเงินอาเซียนและอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน

สกุลเงินของบรูไน – ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar, BND)

เงินดอลลาร์บรูไนมีการออกธนบัตรที่มีมูลค่า 1, 5, 10, 50, 100, 500, 1,000 และ 10,000 ดอลลาร์
*อัตราแลกเปลี่ยน 1.3 BND ต่อดอลลาร์สหรัฐ
*1 ดอลล่าร์บรูไน เท่ากับประมาณ  25 บาทไทย
บูไนBND    
ธนบัตรเงินดอลลาร์บรูไน

สกุลเงินของกัมพูชา – เรียล (Cambodian Riel, KHR)

เงินเรียลกัมพูชา มีการผลิตทั้งเหรียญและธนบัตรหลายระดับราคาออกมาใช้งาน คือ 50, 100, 200, 500, 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000 และ 100,000 เรียล โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนราว 4,000 เรียลต่อดอลลาร์สหรัฐ
*อัตราแลกเปลี่ยน127 เรียล เท่ากับประมาณ 1 บาท
KHR
ธนบัตรเงินเรียลกัมพูชา


สกุลเงินของมาเลเซีย – ริงกิต (Ringgit, MYR)

เงินริงกิตมาเลเซียถูกผลิตออกมาใช้งานหลายระดับราคาคือ 1, 5, 10, 20, 50 และ 100 ริงกิต
อัตราแลกเปลี่ยน 1  ริงกิตมาเลเซียเท่ากับประมาณ 10 บาท หรือราว 3.2 MYR ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

KHR

ธนบัตรริเงินริงกิตมาเลเซีย

สกุลเงินของพม่า – จ๊าต (Myanmar Kyat, MMK)
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 ปยา, 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด , 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด
*อัตราแลกเปลี่ยน 26-32 จ๊าดเท่ากับประมาณ 1 บาทไทย  หรือราว 1,000 จ๊าตต่อดอลลาร์สหรัฐ


 ธนบัตรเงินจ๊าตของพม่า

สกุลเงินของฟิลิปปินส์– เปโซ (Philippine Peso, PHP)
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 เปโซ, 50  เปโซ, 100  เปโซ , 200  เปโซ, 500  เปโซ และ 1,000  เปโซ
*1.40 เปโซ เท่ากับประมาณ 1 บาท หรือราว 44 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐ
ฟิ

ธนบัตรเงินเปโซฟิลิปปินส์

สกุลเงินของอินโดนีเซีย– รูเปียห์ (Indonesian Rupiah, IDR)
ราคาของธนบัตรรูเปียห์ที่ผลิตออกมาใช้งานคือ 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000 และ 100,000 รูเปียห์
*อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท  หรือ ราว 370 IDR ต่อบาทไทย หรือ 11,700 IDR ต่อดอลลาร์สหรัฐ
อินIDR
อินIDR
ธนบัตรรูเปียห์อินโดนีเซีย

สกุลเงินของไทย – บาท (Thai Baht, THB)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยนั้นราว 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรเงินบาทไทยมีผลิตออกมาใช้งานในระดับราคา 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท
THBไทTHB ไท
ธนบัตรเงินบาทของไทย

สกุลเงินของสิงคโปร์ – ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar, SGD)
ธนบัตรดอลลาร์สิงคโปร์ที่ผลิตออกมาใช้งานคือ 2, 5 10, 50, 100, 1,000 และ 10,000 ดอลลาร์
*อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สิงคโปร์ เท่ากับประมาณ 25 บาท หรือราว.3 SGD ต่อดอลลาร์สหรัฐ
สิงSGD
สิงSGD
ธนบัตรเงินดอลลาร์สิงคโปร์
สกุลเงินของลาว – กีบ (Laotian Kip, LAK)
ธนบัตรเงินกีบที่มีการผลิตออกมาใช้งานคือ 500, 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000 และ 50,000 กีบ
*อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 กีบ เท่ากับประมาณ  4 บาทไทย หรือ 250 กีบต่อหนึ่งบาท หรือราว 8,000 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ
ลาล่าว
ลาล่าว
ธนบัตรเงินกีบลาว

สกุลเงินของเวียดนาม – ด่ง (Vietnam Dong, VND)
ธนบัตรเงินด่งที่ผลิตออกมาใช้งานคือ 1,000 ,2,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000, 100,000, 200,000 และ 500,000 ด่ง
*อัตราแลกเปลี่ยน 652 ด่ง เท่ากับประมาณ  1  บาทไทย หรือ ราว 21,000 ด่งต่อดอลลาร์สหรัฐ
VNDเวี
เวี
ธนบัตรเงินด่งเวียดนาม

ประธานอาเซียน สำนักเลขาธิการ และเลขาธิการ


ประธานอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน ข้อ 31 ระบุว่า ตำแหน่งประธานอาเซียนจะเวียนกันทุกปีตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษของชื่อรัฐสมาชิก รัฐสมาชิกที่เป็นประธานจะเป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาประสานงานอาเซียน สภาประชาคมอาเซียนสามสภา องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและข้าราชการอาวุโส และคณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร ประเทศพม่าเป็นประธานในปี 2557

สำนักเลขาธิการ

สำนักเลขาธิการอาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2519 ในตอนนั้นตั้งอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 70A Jalan Sisingamangaraja กรุงจาการ์ตา ซึ่งซูฮาร์โต ประธานาธิบดีอินโดนีเซียขณะนั้น ก่อตั้งในปี 2524
หน้าที่หลักของสำนักเลขาธิการอาเซียนคือเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานขององค์กรอาเซียน และให้การนำโครงการและกิจกรรมของอาเซียนไปปฏิบัติมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เลขาธิการ

เลขาธิการอาเซียนได้รับแต่งตั้งโดยการประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นระยะเวลาดำรงตำแหน่งห้าปี สมัยเดียว โดยเลือกมาจากผู้มีสัญชาติรัฐสมาชิกอาเซียนตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษ
เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน คือ เล เลือง มิญ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2556–2561

ภูมิศาสตร์และวัตถุประสงค์

ภูมิศาสตร์

ในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549)  ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาคากาโบราซีในพม่า ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังกลาเทศ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพริกไทย

วัตถุประสงค์

จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
  • รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
  • จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
  • ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
  • ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
  • ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ

  •                           

    สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ เเละการขยายตัวของอาเซืยน

    สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ

    สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองประเทศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถือว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร
    ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

    การขยายตัว


    ในปี พ.ศ. 2519 ปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมา บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 หลังบรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว
    ต่อมา เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่เจ็ด ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538  ไม่นานหลังจากนั้น ลาวและพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่แปดและเก้าตามลำดับ ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540  ส่วนกัมพูชาประสงค์จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก แต่ถูกเลื่อนออกไปจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ จนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่สิบ หลังจากรัฐบาลกัมพูชามีความมั่นคงแล้ว
    ในช่วงพุทธทศวรรษ 2530 สมาชิกอาเซียนได้มีประสบการณ์ทั้งในด้านการมีประเทศสมาชิกเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความพยายามในการรวบรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวไปอีกขึ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 มาเลเซียได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(APEC) และภูมิภาคเอเชียโดยรวม  แต่ว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไป เพราะได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา  แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้
    ใน พ.ศ. 2535 มีการลงนามใช้แผนอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในจังหวัดเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่า การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
    นอกเหนือจากความร่วมมือช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกแล้ว อาเซียนยังมีวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มีการลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในภูมิภาค
    หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรใฝ่หา
    ผู้นำของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเธร์ โมฮัมหมัดแห่งมาเลเซีย ตระหนักถึงความจำเป็นในการรวมกลุ่มประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2540 อาเซียนได้เริ่มตั้งก่อตั้งองค์การหลายแห่งในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาเซียนบวกสามเป็นองค์การแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตามด้วยการประชุมเอเชียตะวันออก ซึ่งมีอีกสามประเทศที่เข้าร่วมด้วย คือ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กลุ่มดังกล่าวมีแผนการที่เป็นรากฐานของประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งร่างขึ้นตามอย่างของประชาคมยุโรปซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพไปแล้ว หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียนขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบของนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการร่างกฎบัตรอาเซียนในอนาคต
    ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มอาเซียนได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งกลุ่มอาเซียนได้มอบสถานภาพ "หุ้นส่วนการอภิปราย" ให้แก่สหประชาชาติเป็นการตอบแทน  นอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 23 กรกฎาคมปีนั้นเอง ฌูแซ รามุช-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์-เลสเต ได้ลงนามในความต้องการในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ และคาดหวังว่าการได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์
    ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 ไปพร้อมกับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 นับเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่าจีดีพีคิดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก
    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีการประเมินว่าความตกลงการค้าเสรีนี้จะเพิ่มจีดีพีใน 12 ประเทศขึ้นมากกว่า 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2543-2563 ต้นปี พ.ศ. 2554 ติมอร์-เลสเตวางแผนจะยื่นจดหมายขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกแก่สำนักเลขาธิการอาเซียนในอินโดนีเซีย เป็นประเทศสมาชิกลำดับที่สิบเอ็ดของอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซียแสดงท่าทีต้อนรับติมอร์-เลสเตอย่างอบอุ่น

    วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

    อาเซียน ASEAN

    อาเซียน ASEAN

        ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง

          สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือกำเนิดขึ้นโดย "ปฏิญญากรุงเทพ" (Bangkok Declaration) หรือ "ปฏิญญาอาเซียน" (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีสมาชิกเริ่มแรกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเอง ภายหลังจึงได้มีอีก 5 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มเติม จึงทำให้ "อาเซียน" มีสมาชิกเป็น 10 ประเทศดังเช่นในปัจจุบัน

    ข้อมูล ASEAN ที่ควรรู้

    นอกจากอาเซียนนั้นจะมีความน่าสนใจในแง่ของความร่วมมือกันด้านต่างๆ ของทั้ง 10 ประเทศแล้ว อาเซียน ยังมีข้อมูลอีกบางประการที่เราควรจะต้องรู้เอาไว้ เผื่อว่าคุยกับใครๆ จะได้รู้เรื่อง !
    • เมื่อปี 2554 ประเทศในภูมิอาเซียนมีประชากรรวมกันมากถึง 620 ล้านค้น
    • ภูมิภาคอาเซียนมีอาณาเขตพื้นที่รวมกันทั้งสิ้น 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร
    • ในภูมิภาคอาเซียนมีประชากรที่นับถือศาสนาแตกต่างกันทั้งพุทธิ อิสลาม คริสต์ และฮินดู
    • ประเทศในภูมิภาคที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด คือ อินโดนีเซีย และประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์
    • ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนมีมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวม เท่ากับ 2.1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ นับว่าเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
    • ค่าการส่งออกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่ารวม 2.0 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ

    ตราสัญลักษณ์อาเซียน

        "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปมัดรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นวงกลมสีแดง ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
    อาเซียน ASEAN
    • รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
    • วงกลม หมายถึง เอกภาพของอาเซียน
    • ตัวอักษร "asean" สีน้ำเงินใต้ภาพรวงข้าว หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

    สีที่ใช้ในตราสัญลักษณ์อาเซียน

        ซึ่งนอกจากตราสัญลักษณ์ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจในความเป็นอาเซียนแล้ว สีที่ใช้ก็ยังมีส่วนที่ช่วยเสริมให้อาเซียนมีพลัง สามารถดำเนินไปได้ด้วยความอดทน และมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน
    สีที่ใช้ในตราสัญลักษณ์อาเซียน
    สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง 
    สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ 
    สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
    สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

    ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

    ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

    Asean-AEC-flag
    ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


    1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
    เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
    ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
    ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
    นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
    ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
    จุดแข็ง
    – การเมืองค่อนข้างมั่นคง
    – รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
    – ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
    ข้อควรรู้
    – ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
    – ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
    – การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
    – การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
    – จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
    – สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
    – วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
    – จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม




    2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
    เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
    ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
    ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
    นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
    ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
    จุดแข็ง
    – ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
    – มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
    ข้อควรรู้
    – ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
    – เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
    – ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
    – ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
    – สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ




    3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
    เมืองหลวง : จาการ์ตา
    ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
    ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
    นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
    ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
    จุดแข็ง
    – มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    – มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ข้อควรรู้
    – ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
    – นิยมใช้มือกินข้าว
    – ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
    – ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
    – การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
    – บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
    – มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
    – งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้




    4.ประเทศลาว (Laos)
    เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
    ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
    ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
    นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
    ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
    จุดแข็ง
    – ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
    – การเมืองมีเสถียรภาพ
    ข้อควรรู้
    – ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
    – ลาวขับรถทางขวา
    – ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
    – เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
    – ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
    – อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
    – ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
    – เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม




    5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
    เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
    ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
    ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
    นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
    ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
    จุดแข็ง
    – มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
    – มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
    ข้อควรรู้
    – ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
    – มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
    – ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
    – เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม



    6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
    เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
    ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
    ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
    นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
    ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
    จุดแข็ง
    – มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
    – ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
    – มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
    ข้อควรรู้
    – ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
    – เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
    – ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
    – ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
    – ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
    – ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก




    7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
    เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
    ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
    ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
    นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
    ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
    จุดแข็ง
    – แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
    ข้อควรรู้
    – การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
    – เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
    – ใช้ปากชี้ของ
    – กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
    – ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส






    8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
    เมืองหลวง : สิงคโปร์
    ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
    ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
    นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
    ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
    จุดแข็ง
    – รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
    – แรงงานมีทักษะสูง
    ข้อควรรู้
    – หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
    – การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
    – การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
    – ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
    – ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
    – ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ




    9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
    เมืองหลวง : กรุงฮานอย
    ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
    ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
    นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
    ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
    จุดแข็ง
    – มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
    ข้อควรรู้
    – หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
    – เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
    – คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
    – ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
    – ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
    – คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
    – ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
    – ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว




    10.ประเทศไทย (Thailand)
    เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
    ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
    ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
    นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
    ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    จุดแข็ง
    – เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
    – มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
    ข้อควรรู้
    – ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
    – ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
    – สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
    – ทักทายกันด้วยการไหว้
    – ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
    – ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม